12. กุหลาบ Rosa spp.

กุหลาบ Rosa spp.


ภาพดอกกุหลาบภายในสวน
        
         ชื่อวงศ์ :  Rosaceae
ชื่อสามัญ :  Rose
ลักษณะทั่วไป :
                  ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก  แต่บางชนิดมีขนาดใหญ่หรือเป็นไม้เลื้อย เป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกสีเขียว                  
                  ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 5-9 ใบ ออกลับกัน ใบรูปไข่ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-10 ซม.  ปลายใบแหลม  โคนใบมน  ขอบใบจักฟันเลื่อย  แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันและมีรอยย่นเล็กน้อย                                            ดอก  เป็นดอกเดี่ยว หรือดอกช่อ กลีบดอกแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ กลีบดอกชั้นเดียว จะมี 5 กลีบ ยกเว้นบางชนิดที่มีเพียง 4 กลีบ คือ Rosa sericea  และ  Rosa omeiensis  ส่วนกลีบดอกกึ่งซ้อนมี 6-20 กลีบ กลีบดอกซ้อนมีตั้งแต่ 20 กลีบไปจนถึง 50-60 กลีบ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ สีเขียวหรือสีเขียวอมแดงเรื่อ  เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อับเรณูสีเหลืองล้อมรอบเกสรเพศเมียซึ่งรวมเป็นกระจุกอยู่กลางดอก  และจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเกสรเพศผู้                  
                  ฝัก/ผล  เป็นผลกลุ่ม ผลแก่แห้ง เมื่อเริ่มติดผลส่วนที่เป็นรังไข่จะขยายพองโตขึ้นโดยมีฐานรองดอกหุ้มไว้ ภายในประกอบด้วยผลย่อยจำนวนสองถึงหลายสิบผล ผลมีรูปร่างต่างๆ กัน ตามชนิด เช่น กลม กลมแป้น ยาวรี มีเนื้อนุ่ม และมีหลายสี เช่น สีส้ม สีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำตาล                  
                  เมล็ด  เมล็ดล่อน (achene) ค่อนข้างกลม รูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มม. เมล็ดอ่อนสีขาวอมเขียว ที่ปลายมีสีแดง เมล็ดแก่สีน้ำตาล จำนวน 2-18 เมล็ด           
            ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี โดยเฉพาะ ธ.ค.-มี.ค.           
            การปลูก:  ปลูงลงกระถางหรือลงแปลงประดับสวน           
            การดูแลรักษา:  ชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อย อากาศเย็น           
            การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ติดกิ่ง ติดตา หน่อ           
            ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก           
            การใช้ประโยชน์: -    ตัดดอกประดับแจกัน                                        
                                        -    กลีบดอกแรกแย้มสกัดได้น้ำมันหอมระเหยใช้แต่งกลิ่น โดยเฉพาะ เครื่องสำอาง                                          -    ร้อยมาลัย และบุหงา           
            ถิ่นกำเนิด:  กุหลาบอยู่ในสกุล Rosa  มีอยู่ประมาณ 125 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในเอเซียประมาณ 95 ชนิด ในอเมริกา 18 ชนิด ส่วนที่เหลือมีถิ่นกำเนิดในยุโรปหรือตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา           
            สรรพคุณทางยา:   -    ดอก มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ขับน้ำดี                                         
                                          -    ผล มีวิตามินซีมาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ึ7. ข่าแดง Achasma sphaerocephalum Holtt.

28. ธรรมรักษา Heliconia psittacorum L.f.

29. บัวหลวง Nelumbo nucifera Gaertn.