36. สับปะรดสี Aechmea fasciata

สับปะรดสี Aechmea fasciata



วงศ์ : Bromeliaceae
ชื่อสามัญ : Bromeliad ชื่อพื้นเมือง : สับปะรดสี (Urn Plant) ถิ่นกําเนิด : ประเทศบราซิล ลักษณะทั่วไป
สับปะรดสีเป็นพันธุ์ไม้ประดับที่มีใบเป็นกลีบแข็งๆ แผ่ออกไปรอบๆข้างบนใบมีลวดลายและสีสันที่สวยงามแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพันธุ์ เป็นไม้ที่เจริญเติบโตช้า ดูแลง่าย สามารถทนแล้งได้ดี มีช่อดอกยาวสูง สีกลีบดอก กลีบเลี้ยง และใบที่ฉูดฉาดคงอยู่นานหลายสัปดาห์หรืออยู่ได้หลายเดือน และจะงอกต้นเล็กๆ ออกมารอบๆ ต้นสามารถตัดแยกไปปลูกเป็นต้นใหม่ได้ สับปะรดสีสามารถทนทานอยู่ได้ทั้งในที่มีแสงมากและแสงน้อย แต่ถ้าได้รับแสงมากจะทาให้ใบมีสีสันสวยงามน่ามองยิ่งขึ้น การขยายพันธุ์
สับปะรดสีขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ โดยใช้มีดตัดหน่อที่แตกออกมาใหม่โดยตัดให้ชิดโคน จากนั้นทาปูนแดงหรือยากันราบริเวณรอยตัด ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วจึงนําไปปลูกลงวัสดุปลูก วัสดุปลูกที่แนะนําคือ กาบมะพร้าวสับ รองลงมาคือ การเพาะเมล็ด เหมาะสำหรับผสมพันธุ์ใหม่ ได้ลูกผสมที่อาจสวยกว่าเดิม หรือด้อยกว่า ซึ่งต้องคัดต่อไปเรื่อยๆ ให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะที่สวยชัดเจน ประโยชน์
ถึงแม้คุณสมบัติในการดูดสารพิษของสับปะรดสีจะไม่มากนัก แต่คุณสมบัติเด่นของสับปะรดสีอยู่ที่เป็นพืชที่คายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืนและดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป จึงเหมาะที่จะปลูกไว้ในห้องนอน การดูแลรักษา การดูแลรักษา สับปะรดสีเป็นพืชที่ต้องการเครื่องปลูกที่เบา ระบายน้ำและอากาศได้ดี ชอบอากาศชื้นที่ไม่เฉอะแฉะ ต้องการปริมาณแสงมากแต่ไม่ร้อน การได้รับแสงแดดตรงๆ โดยเฉพาะตอนบ่ายจะทําให้ใบไหม้ ซึ่งแก้ไขได้โดยการพรางแสงลงให้เหลือประมาณ 40-60% การให้น้ำให้ดูสภาพอากาศเป็นหลัก หมั่นสังเกตว่าเครื่องปลูกแห้งหรือยังจึงค่อยให้น้ำ ฤดูฝนแบบนี้การให้น้ำอาทิตย์ละครั้งก็เพียงพอแต่ควรฉีดยาป้องกันเชื้อราไว้เพราะอากาศมีความชื้นสูง ส่วนฤดูร้อนให้น้ำเช้าเย็นค่ะ ข้อควรระวังคือการใช้น้ำประปารดซึ่งมีคลอรีนที่จะตกค้างตามขอบใบและทําให้ใบไหม้ หากเป็นไปได้ควรพักน้ำไว้สองวันเพื่อให้คลอรีนระเหยออกไปก่อน รวมถึงระวังไม่ให้น้ำของยอดซึ่งส่งผลต่อการแตกยอดอ่อน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ึ7. ข่าแดง Achasma sphaerocephalum Holtt.

28. ธรรมรักษา Heliconia psittacorum L.f.

29. บัวหลวง Nelumbo nucifera Gaertn.