2.แพงพวย Catharanthus roseus

แพงพวย Catharanthus roseus

ดอกแพงพวย 


ชื่อ  แพงพวย

ชื่อวิทยาศาสตร์   Catharanthus roseus "G. Don".

ตระกูล               APOCYNACEAE

ชื่อสามัญ           Madagascar periwinkle

ลักษณะทางพฤษศาสตร์แพงพวย

แพงพวย เป็นพืชล้มลุกพื้นเมืองของหมู่เกาะมาดากาสกา ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลางค่ะ สำหรับแพงพวยในประเทศไทยมีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่น ได้แก่ ผักปอดนา (ภาคเหนือ) ผักนมอินทร์ (สุราษฎร์ธานี) ตับขี้หมู (เกาะสมุย, เกาะพงัน)แพงพวยฝรั่ง พังพวยฝรั่ง พังพวยบก (ไทยภาคกลาง) เป็นต้น 

แพงพวยเป็นพืชอายุหลายปี (perennial) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กและเป็นพืชผสมตัวเอง ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ โรค แมลง ตลลอดจนสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษสามารถเจริญได้ในอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน ชอบแสงแดดปานกลางถึงแสงแดดจัด ดอกมีสีสันสวยงาม ออกดอกตลอดปีเป็นพืชที่มีระบบรากแก้ว ลำต้นมีทั้งทอดขนานไปตามผิวดินและตั้งตรง ทรงพุ่มสูงประมาณ 40-120 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบ ขอบใบเรียบ ทรงกลมรีี ใบยาวประมาณ 2 นิ้ว และกว้างประมาณ 1 นิ้ว ออกดอกบริเวณยอดของต้น ดอกของแพงพวยจะมีสองสีคือแดงและขาว นิยมปลูกประดับไว้ตามสนามหญ้า ข้างทางเดินหรือข้างถนน การปลูกจะปลูกเป็น แถวหรือเป็นกลุ่มน่ะนะคะ

การขยายพันธุ์แพงพวย : สามารถทำได้ด้วยวิธีการปักชำ หรือเพาะเมล็ด แต่การเพาะจากเมล็ดทำได้ง่ายและสะดวกกว่า โดยสามารถเพาะลงในกระบะ หรือหว่านลงในแปลงปลูก เมล็ดจะงอกภายใน 5-7 วัน แพงพวยสามารถปลูกได้ตลอดปี เนื่องจากเป็นพืชในเขตร้อน ต้องการแสงแดดและอากาศร้อน เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลางโดยเฉพาะดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดีและค่อนข้างจะแห้ง เนื่องจากจะช่วยในการส่งเสริมการเจริญของรากได้ดี ถ้าดินแฉะเกินไปจะทำให้รากไม่มีอากาศหายใจ ทำให้รากเน่าได้ และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้งค่ะ

ที่มา : http://panmainaiban.blogspot.com/2012/02/blog-post.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ึ7. ข่าแดง Achasma sphaerocephalum Holtt.

28. ธรรมรักษา Heliconia psittacorum L.f.

29. บัวหลวง Nelumbo nucifera Gaertn.