5. พุด Tabernaemontana divaricata (L.)

พุด Tabernaemontana divaricata (L.)



ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabernaemontana divaricata (L.), R.Br. ex Roem. & Schult.
ชื่อสามัญ : –
ชื่อพื้นเมืองอื่น : พุดป่า (ลำปาง) ; พุดจีบ, พุดซ้อน, พุดสวน, พุดสา (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก (ST) ต้นสูงประมาณ 1.5-3 เมตร ทุกส่วนของลำต้นจะมีน้ำยางสีขาว แตกกิ่งก้านสาขามาก
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกใบตรงข้าม ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ก้านใบสั้น แผ่นใบสีเขียวเข้ม ท้องใบหรือใต้ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบเป็นมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง 2-3 ดอก ดอกขนาดเล็กจะตูมเหมือนปลายพู่กัน กลีบดอกโคนเชื่อมกัน เป็นท่อเล็ก ๆ ปลายใบแยกเป็น 5 กลีบ มีสีขาว กลีบดอกบาง ออกดอกตลอดปี
ผล เป็นฝัก ยาวประมาณ 2.5-5 ซม. ปลายแหลมและโค้ง
นิเวศวิทยา
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย ในประเทศไทยเป็นไม้ที่ปลูกกันมากในทั่วทุกภาค ชอบแดดรำไร
การปลูกและขยายพันธุ์
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
ประโยชน์ทางยา
รสและสรรพคุณในตำรายา
ราก รสเฝื่อน บำรุงร่างกาย ระงับอาการปวด แก้ปวดฟัน ขับพยาธิ
ลำต้น รสเฝื่อน คั้นเอาน้ำดื่มใช้ขับพยาธิ
เนื้อไม้ รสเฝื่อน เป็นยาเย็น ใช้ลดไข้
ใบ รสเฝื่อน โขลกกับน้ำตาล ชงดื่มแก้อาการไอ
ดอก รสเฝื่อน โขลกแล้วคั้นเอาแต่น้ำทาแก้โรคผิวหนัง
วิธีและปริมาณที่ใช้
  1. ลดไข้ ขับพยาธิ โดยใช้ต้นและรากสด 20-30 กรัม ล้างให้สะอาด สับเป็นชิ้นต้มในน้ำเดือด 500 ซีซี กรองเอาน้ำดื่มวันละ 3 เวลา ต่อเนื่องกัน 3-5 วัน
  2. แก้โรคผิวหนัง โดยใช้ดอกสด 10-20 กรัม โขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อยแล้วคั้นเอาแต่น้ำทาและพอกบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังเป็นประจำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น
ข้อควรทราบ
  • เปลือกต้นและราก มีสารอัลคาลอยด์ Coronarine
ที่มา : http://prayod.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%94/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ึ7. ข่าแดง Achasma sphaerocephalum Holtt.

28. ธรรมรักษา Heliconia psittacorum L.f.

29. บัวหลวง Nelumbo nucifera Gaertn.